Tag | Data |
---|
Title | รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการแยกสารที่มีประสิทธิภาพสูงในคะพิลลารีอิเล็กโทรโครมาโทกราฟีและไมโครไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีโดยใช้เฟสอยู่กับที่ประเภทมอนอลิท / |
Title | High Efficiency Separation in Capillary Electrochromatography and Micro High-Performance LiquidChromatography Using Monolithic Stationary Phase |
Title | การแยกสารที่มีประสิทธิภาพสูงในคะพิลลารีอิเล็กโทรโครมาโทกราฟีและไมโครไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีโดยใช้เฟสอยู่กับที่ประเภทมอนอลิ |
Title | โครงการการแยกสารที่มีประสิทธิภาพสูงในคะพิลลารีอิเล็กโทรโครมาโทกราฟีและไมโครไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีโดยใช้เฟสอยู่กับที่ประเภทมอนอลิท |
Subject | การแยก (เทคโนโลยี)--วิจัย. |
Subject | คะพิลลารีอิเล็กทรอฟอเรซิส--วิจัย. |
Subject | ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี--วิจัย. |
Description | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาค่าความจำเพาะของการแยกสารและรีเทนชันในเทคนิคการแยกสารด้วยคะพิลลารีขนาดไมโครเมตรของเทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟอริซิส (CE)และไมโครไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี (HPLC)เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของการแยกสารที่ดีได้เปรียบเทียบค่าจำเพาะการแยกของเฟสคงที่สำหรับสารประกอบกลุ่มแฮโลเจนในรีเวิร์สเฟส HPLCโดยใช้ซิลิกามอนอลิตคะพิลลารีคอลัมน์ที่ปรับปรุงพื้นผิวด้วยหมู่พอลิออกตะเดกซิล (ODM) และหมู่ C18 (ODS)พบว่าสารทดสอบอนุพันธ์เบนซีนที่มีหมู่แทนที่เป็นแฮโลเจนเกิดรีเทนชันบน ODM ได้ดีกว่าทั้งในเฟสเคลื่อนที่ที่เป็น เมทานอล/น้ำ และอะซิโตไนไทรล์/น้ำค่าจำเพาะการแยกสารสำหรับสารประกอบกลุ่มแฮโลเจนบน ODM มีค่ามากกว่าบน ODS ทั้งนี้เนื่องจากอันตรกิริยาที่เป็นdispersive ที่มากกว่าโดยหมู่ออกตะเดกซิลที่หนาแน่นกว่าบนคอลัมน์ ODM ที่เป็นการเคลือบแบบพอลิเมอร์รวมทั้งผลของหมู่คาร์บอนิลในสายโซ่ของ ODM นอกจากนี้คอลัมน์ODM ยังเป็นทางเลือกที่ดีกว่าคอลัมน์ ODSสำหรับแยกสารกลุ่มคลอโรฟีนอล ได้พบว่ารีเทนชันอินเดก (I)เป็นตัวแปรที่ดีกว่ารีเทนชันแฟกเตอร์ (k)สำหรับเปรียบเทียบแอฟฟินิตีสัมพัทธ์ของอนุพันธ์เบนซินที่มีหมู่แทนที่สองหมู่ในไมโครอิมัลชันอิเล็กโทรไคเนทิกโครมาโทกราฟี (MEEKC) และไมเซลลาร์อิเล็กโทรไคเนทิกโครมาโทกราฟี (MEKC)ทั้งนี้เนื่องจากค่า Iไม่ขึ้นกับความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว ค่า I ที่ได้จากMEEKC และ MEKCอาจใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหมู่แทนที่นอกจากนี้ทฤษฎีหลักการ เติมยังสามารถใช้ทำนายค่า Iของเบนซินที่มีหมู่แทนที่สองหมู่ต่างกันจากที่มีหมู่แทนที่สองหมู่เหมือนกัน. |
Description | จากการแยกอนุพันธ์กรดเบนโซอิกและ กรดฟีนอกซี ด้วย b-CD พบว่าการเปลี่ยนแปลงค่า aCD จากการทดลองสอดคล้องกับค่าaCD จากทางทฤษฎี ในการเปรียบเทียบค่าจำเพาะการแยกใน CZE,MEKC และ CD-EKCสำหรับคู่ของสารที่เป็นมอนอคลอโรเบนโซเอตกับมอนอเมทิลเบนโซเอต (C/M)หรือคู่ของไดคลอโรเบนโซเอตกับไดเมทิลเบนโซเอต (DC/DM) ซึ่งมี ใกล้เคียงกันนั้น พบว่าค่า aCD มีค่ามากกว่า aCZE และaMEKC ทั้งนี้เนื่องจาก CD มี สูง นอกจากนี้ได้ทดลองแยกกรดฟีนอกซี 10 ชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2,4-DB/MCPBและ 2,4-D/MCPAที่มีหมู่แทนที่บนวงเบนซีนแตกต่างกันเพียงหมู่คลอโรและหมู่เมทิลเท่านั้นพบว่าสามารถแยกกรดฟีนอกซีได้ในคราวเดียวกันได้โดยใช้บัฟเฟอร์ของ CD-EKC ประกอบด้วย 3 mM DM-b-CD ดังนั้น CD-MEKCเป็นทางเลือกที่ดีกว่า CZE และ MEKCสำหรับแยกสารประกอบที่มีหมู่แทนที่ที่แตกต่างกันเพียงหมู่คลอโรและเมทิล. |
Description | อย่างไรก็ตามผลของอิเล็กโทรนิกและ/หรืออันตรกิริยาภายในโมเลกุลอาจทำให้ค่าจากการทดลองแตกต่างจากการทำนายได้นำเสนอสมการและแบบจำลองทางทฤษฎีสำหรับค่าจำเพาะการแยกสารใน MEKC (aMEKC) เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงการแยกและลำดับการเคลื่อนที่ของสารที่มีประจุใน MEKC ซึ่ง aMEKC สัมพันธ์กับตัวแปรที่ไม่มีหน่วยของค่าความจำเพาะของ (ความสามารถในการเคลื่อนที่)ในคะพิลลารีโซนอิเล็กโทรฟอริซิส (aCZE) และค่าความจำเพาะของรีเทนชันใน MEKC (ak) โดยที่ aCZEนิยามเป็นอัตราส่วนของ ใน CZE และ ak นิยามเป็นอัตราส่วนของค่า k ใน MEKC สำหรับสองสารมีประจุเมื่อใช้อัลคิลพาราเบนเป็นสารทดสอบ พบว่า aMEKCจากการทดลองสอดคล้องกับค่าทำนายจากแบบจำลองทางทฤษฎี จากแบบจำลองทางทฤษฎีของ MEKCได้นำเสนอสมการและแบบจำลองทางทฤษฎีของค่าจำเพาะการแยกในไซโคลเด็กซ์ทรินอิเล็กโทรไคเนทิกโครมาโทกราฟี (aCD)ที่สัมพันธ์กับตัวแปรที่ไม่มีหน่วยของค่าจำเพาะ ได้แก่ aCZEและ binding selectiviy () เพื่ออธิบายการเปลี่ยน aCDสำหรับสารสองชนิดที่มีประจุและใช้ไซโคลเด็กซ์ทรินที่ไม่มีประจุ โดยนิยาม เป็นอัตราส่วนของ bindingconstant. |
Description | "สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย". |
Publisher | [กรุงเทพฯ] : ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, |
Contributor | ธรรมนูญ หนูจักร. |
Contributor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์. |
Contributor | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
Contributor | สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
Date | 2553 |
Date | 2553. |
Type | text |
Identifier | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RMU5080054 |
Language | tha |
Language | tha eng |